- Home
- ฝ่ายบริหาร
- เจตจำนงสุจริตของผู้บริหาร
- ข้อมูลนักเรียน
- กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาฯ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาฯ
- กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ
- บุคลากรทางการศึกษา
- ประมวลภาพกิจกรรม
- สินปุนฯต้านโควิด
- ข่าวประชาสัมพันธ์
- เพจ facebook รร.สินปุนคุณวิชญ์
- กระดานถาม-ตอบ
- แบบประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้บริการ
- สื่อการสอนครูสันติ
- สินปุนต้านทุจริต
- ระบบจองห้องประชุม
- OIT Online 2563 โรงเรียนสินปุนคุณวิชญ์
- ช่องทางร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบ
- ครูสันติ
Daily Archives: 18/11/2019
วงจรไฟฟ้าเบื้องต้น
หากนักเรียนหรือผู้สนใจอยากจะศึกษาเรื่อง coding หรือ การพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ สิ่งที่ถือได้ว่าเป็นพื้นฐานสำหรับการเรียนรู้ก็คือ วงจรไฟฟ้าเบื้องต้นครับ ซึ่งในบทความนี้ผมจะขอกล่าวถึงเฉพาะวงจรไฟฟ้าชนิดกรแสตรง หรือ DC นะครับ เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับนักเรียนและผู้สนใจ
ส่วนประกอบของวงจรไฟฟ้า
1. แหล่งจ่ายไฟฟ้า เป็นแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าให้แก่อุปกรณ์ไฟฟ้า (โหลด) เช่น ถ่านไฟฉาย แผงโซล่าเซลล์ แบตเตอรรี่ เครื่องปั่นไฟ เป็นต้น
2. โหลดหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ต่อเพื่อใช้งาน เช่น หลอดไฟต่อเพื่อต้องการแสงสว่าง มอเตอร์เพื่อใช้พลังงานกลนำไปใช้งานต่อไปได้แก่ใส่ใบพัดเพื่อเป็นพัดลม หรืออุปกรณ์อื่น ๆ
3. สายต่อวงจร หรือสายไฟนั่นเอง เป็นตัวนำไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปยังโหลดและกลับมาครบวงจรยังแหล่งจ่ายไฟฟ้า (ดังรูป)
จากภาพที่ 1 และ 2 เป็นการต่อวงจรไฟฟ้า โดยนำเอาแหล่งจ่ายไฟ สายไฟ โหลด(คือหลอดไฟ) วงจรภาพที่ 1 หลอดไฟไม่สว่างเพราะกระแสไฟฟ้าไม่สามารถไหลครบวงจร เพราะมีสวิตซ์คั่นกระแสไฟฟ้าอยู่ (Switch Off) เราเรียกว่าวงจรเปิด ส่วนภาพที่ 2 เมื่อทำการเชื่อมสวิตซ์(Switch On) จะทำให้กระแสไฟฟ้าไหลได้ครบวงจร คือไหลจากถ่าน ขั้่ว + ผ่านสายไฟไปยังโหลด และไหลมาครบวงจร ณ ขั้วลบของถ่าน จึงทำให้เป็นวงจรไฟฟ้าที่สมบูรณ์ หรือที่เรียกว่า วงจรปิด (Close Circuit) สรุปง่าย ๆ ก็คือ ถ้าไฟฟ้าไหลครบวงจรหลอดไฟสว่าง ถ้าไม่ครบวงจรหลอดไฟดับนั่นเอง